น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ Mold release agents
สารบัญ
1. ความหมายของน้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์
2. คุณสมบัติของน้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ที่ดี
Mold release agents คือ น้ำยาถอดแบบ หรือชื่อที่รู้จักกันในวงการอุตสาหกรรม น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ นิยมเรียกสั้นๆว่า โมลด์รีลิส (Mold release) คุณสมบัติของ น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ คือเป็นชั้นกั้น (Barrier) ระหว่าง พื้นผิวของชิ้นงานที่ต้องการ (Substance surface) กับ ผิวของแม่พิมพ์ หรือแบบพิมพ์ (Molding surface)
ช่วยให้สามารถแยกชิ้นส่วนที่ต้องการ ออกจากแม่พิมพ์ได้ง่ายขึ้น ป้องกันชิ้นงานเสียหาย หากไม่มีชั้น Barrier จากน้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ พื้นผิวของชิ้นงานจะติดกับผิวของแม่พิมพ์ หรือหลอมรวมกับผิวของแม่พิมพ์ ส่งผลให้ปลดชิ้นงานได้ยาก ชิ้นงานอาจเสียหาย อีกทั้งยังทำความสะอาดได้ยาก และสูญเสียประสิทธิภาพในการผลิตเป็นอย่างมาก
” Mold release ถูกนำมาใช้ในระดับอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายในกระบวนการผลิตสินค้าหลากหลายประเภท ใช้ได้ทั้งแบบพ่น หรือแบบทา ที่ผิวของแม่พิมพ์ เพื่อป้องกันชิ้นงานติดผิวแม่พิมพ์ “
กลุ่มโพลียูริเทนโฟม เช่น โฟมเบาะที่นั่งรถยนต์ , เบาะมอเตอร์ไซค์ , ที่พักแขนในรถยนต์ , เฟอร์นิเจอร์ , พวงมาลัยรถยนต์ , ผนังห้องเย็น ISOWALL , พื้นรองเท้า , หูฟัง , หมอน และ ที่นอนเมมโมรี่โฟม , ไม้เทียม , ชิ้นส่วนเรือ , ทุ่นลอย เป็นต้น น้ำยาถอดแบบ PU FOAM
กลุ่มงานพลาสติก เช่น งานฉีดพลาสติก (Plastic injection) , งานเป่าพลาสติก (Plastic blow molding) เป็นต้น น้ำยาถอดแบบซิลิโคน Silicone Mold Release
กลุ่มงานขึ้นรูปร้อน (Hot press molding) เช่น กระบวนการผลิตฉนวนกันความร้อน กันเสียงของรถยนต์ ที่ต้องใช้อุณภูมิสูง และวัสดุเฉพาะสำหรับการผลิต เช่น ฉนวนใต้ฝากระโปรงรถยนต์ (Hood insulator) , ฉนวนกันความร้อนห้องเครื่องยนต์ (Dash outer) , ฉนวนกันความร้อนเครื่องยนต์ (Engine bays insulators) , ฉนวนครอบเกียร์กันความร้อน (Tunnel Absorber) เป็นต้น
ในกระบวนการผลิตสินค้ากลุ่มนี้ นิยมใช้วัสดุประเภท phenolic resin felt หรือฉนวนไยแก้ว (Glass wool) นำมาขึ้นรูปด้วยความร้อนเพื่อต้องการคุณสมบัติความเป็นฉนวน และ การดูดซับเสียง ของวัสดุประเภทนี้ จึงต้องใช้น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์สำหรับงานด้านนี้โดยเฉพาะ น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ HOT PRESS
กลุ่มขึ้นรูปยางคอมปาวด์ และยางสังเคราะห์ ใช้ในกระบวนการอัดขึ้นรูปยางคอมปาวด์ ส่วนมากนิยมใช้เป็นน้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ชนิดผสมน้ำ หรือ water based เช่น ยางรถยนต์ , ยางมอเตอร์ไซค์ , ยางกันกระแทก , ยางพื้นรองเท้า , ซิลล์ยาง , ประเก็น , ยางขอบประตู เป็นต้น น้ำยาถอดแบบยางคอมปาวด์
คุณสมบัติของน้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
-
- สามารถการยึดเกาะกับพื้นผิวได้ดี และ มีความทนทาน ไม่หลุดลอกโดยง่าย
- มีความสามารถในการสร้างชั้นฟิล์มบาง ๆ เคลือบอยู่ที่ผิวของแม่พิมพ์
- ไม่เกิดการสะสมมากจนเกินไป (over build up) ที่ผิวของแม่พิมพ์
- สร้างชั้นพื้นผิวที่ลื่นเพียงพอ สามารถป้องกันชั้นงานติดแม่พิมพ์ ปลดงานออกได้โดยง่าย ชิ้นงานไม่เสียหาย
- สามารถขึ้นงานได้หลายครั้งต่อการพ่นน้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์หนึ่งครั้ง
- ทำความสะอาดออกได้โดยง่าย
Water-based mold release คือ น้ำยาถอดแบบสูตรน้ำ ใช้ตัวทำละลายคือน้ำ สามารถผสมน้ำได้ตามอัตราส่วนการใช้งาน
ข้อดี ของน้ำยาถอดแบบสูตรน้ำ คือสามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ เช่น การฉีดขึ้นรูปยาง
ข้อเสีย ของน้ำยาถอดแบบสูตรน้ำ คือหากลักษณะของงานมีความซับซ้อนของรูปทรงมาก น้ำยาถอดแบบสูตรน้ำจะต้องใช้ปริมาณความเข้มข้นของ % solid content มากกว่าประเภทน้ำยาถอดแบบสูตรโซลเว้นท์ หากไม่มีข้อจำกัดด้านอุณหภูมิของแม่พิมพ์ ควรเลือกใช้เป็นน้ำยาถอดแบบประเภทโซลเว้นท์ จะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า
Solvent-based mold release คือ น้ำยาถอดแบบสูตรโซลเว้นท์ ใช้ตัวทำละลายเป็นโซลเว้นท์ ส่วนมากจะใช้เป็นสารทำละลายกลุ่มไฮโดรคาร์บอนในการทำละลาย ในแง่ของประสิทธิภาพการถอดแบบ จะดีกว่าน้ำยาถอดแบบสูตรน้ำ ซึ่งการเลือกใช้โซลเว้นท์แต่ละประเภทที่ใช้ในการทำละลายจะมี จุดวาบไฟ (flash point) ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของลูกค้า
ข้อดี ของน้ำยาถอดแบบสูตรโซลเว้นท์ คือ แห้งไว สามารถลดเวลาในการผลิตได้ เนื่องจากไม่ต้องรอเวลานานให้น้ำยาถอดแบบแห้ง ผิวชิ้นงานเรียบเนียนสวย
ข้อเสีย ของน้ำยาถอดแบบสูตรโซลเว้นท์ คือ โซลเว้นท์บางประเภทมีจุดวาบไฟที่ต่ำ มีโอกาสเกิดอัคคีภัยได้หากใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง จึงต้องมีการควบคุมไม่ให้มีการเกิดประกายไฟระหว่างการใช้งาน และควบคุมการจัดเก็บให้ห่างจากประกายไฟ
น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ ชนิดไหน ที่เหมาะกับคุณ
การเลือกใช้ น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ หรือ Mold release ต้องมีการพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆจากกระบวนการผลิต เพื่อการเลือกใช้น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ที่เหมาะสม เพราะคุณภาพของน้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ จะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพ และ ความสม่ำเสมอของชิ้นงานที่ผลิต จึงควรเลือกใช้น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์จากแหล่งที่แหล่งที่มีคุณภาพเท่านั้น น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์
ปัจจัยจากกระบวนการผลิตหลักๆที่ต้องพิจารณาในการเลือก น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์
วัตถุดิบ (Raw material) ที่ใช้ในการผลิตเป็นวัสดุประเภทอะไร มีผลต่อการเลือกประเภทของน้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ว่าควรใช้งานเป็นกลุ่มไหน
อุณหภูมิแม่พิมพ์ (Molding temperature) และคอนดิชั่น (Condition) ในการผลิตเป็นแบบไหน เรื่องของอุณหภูมิที่ใช้ในการผลิตมีผลต่อการเลือกใช้ตัวทำละลายของน้ำยาถอดแบบที่เหมาะสม กระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิแม่พิมพ์สูงมากไม่เหมาะกับตัวทำละลายประเภท solvent based เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
อุณภูมิแม่พิมพ์ที่ต่ำกว่า 60 °C สามารถเลือกตัวทำละลายประเภท solvent based ได้ ทั้งนี้หากเป็นไลน์การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous line) ต้องพิจารณาถึงระยะเวลาการระเหย หรือการแห้งตัวของน้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ (mold release evacuate) ร่วมด้วย หากระยะห่างจากจุดพ่นน้ำยาถอดแบบ กับ แม่พิมพ์ ห่างกันไม่มาก ต้องพิจารณาเลือกใช้ตัวทำละลายเป็นชนิดแห้งไว
ในกระบวนการผลิตที่ต้องอบชิ้นงานเพื่อรอการอบงาน (curing) เป็นเวลานานอย่างเช่นกระบวนการฉีดยางคอมปาวด์ (rubber injection) ต้องมีการพิจารณาอุณหภูมิสะสมร่วมด้วย
อีกหนึ่งปัจจัยที่มักถูกมองข้าม นั่นก็คือ ไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic) สามารถตรวจสอบได้จากเครื่องมือวัดค่าสนามไฟฟ้าสถิตย์ ในบริเวณพื้นที่การผลิต หากมีค่าสูงมีโอกาสในการเกิดอัคคีภัยได้ ควรมีการป้องกันโดยสามารถทำได้หลายวิธี อาทิเช่น การทำกราวด์ และ การเชื่อมต่อฝาก (grounding and bonding) , การควบคุมความชื้น , การทำไออนไนเซชั่น (Ionizer) และ การใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ เป็นต้น
ข้อจำกัดอื่นๆของผลิตภัณฑ์ ในผลิตภัณฑ์บางประเภทจะมีการควบคุมสารต้องห้ามบางประเภท ต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วย เช่น ยางบางชนิดเป็นประเภทปลอดซิลิโคน (silicone free) ห้ามใช้น้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ที่มีส่วนผสมของซิลิโคน การผลิตชิ้นส่วนพลาสติกบางประเภท ไม่ต้องการให้ผิวงานหลังจากผลิตออกมามีความมันเงา เนื่องจากต้องนำไปเข้าสู่ขั้นตอนการสกรีนสีเป็นลำดับถัดไป ต้องเลือกใช้ น้ำยาถอดแบบชนิดพิมพ์สีติด (paintable mold release) Silicone Free Release Agent
ปรึกษาบริษัทที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำยาถอดแบบแม่พิมพ์ สามารถให้คำแนะนำ และเลือกน้ำยาถอดแบบที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตให้คุณได้