โพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane : PU) เป็นที่นิยมใช้ในการผลิตหลังคาเมทัลชีทฉนวนพียู และใช้ในวงการก่อสร้างจะเป็นพียูชนิดคงรูป (Rigid Foam) เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ดีเยี่ยม มีความทนทาน และคงสภาพได้ดีในทุกสภาวะอากาศ
แน่นอนว่าน้ำยาพียูโฟมเมื่อลูกค้านำไปใช้งานจะต้องฉีดออกมาแล้วฟูตัวได้ตามคุณสมบัติพื้นฐานของพียูโฟม แต่ไม่ใช่พียูโฟมทุกยี่ห้อจะสามารถทำให้งานออกมาคุณภาพเท่ากัน สม่ำเสมอ รวมไปถึงการคงรูปได้หลังจากติดตั้งแผ่นหลังคาไปแล้ว ไม่เกิดปัญหาโฟมยุบ เป็นคลื่น หรือโฟมเกิดการหดตัว
ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของพียูโฟมสามารถเกิดได้จากปัจจัยหลายประการ ปัจจัยหลักมาจากคุณภาพของวัตถุดิบและสูตรการผลิตของแต่ละบริษัทที่แตกต่างกัน
ส่วนประกอบของพียูโฟม
ส่วนประกอบพื้นฐานของพียูโฟม คือโพลีออล หรือน้ำยาโฟมขาว (Polyol : POLY) และไอโซไซยาเนต หรือน้ำยาโฟมดำ (Isocyanate : ISO)
เป็นเคมี 2 ชนิดที่เป็นของเหลวทั้งคู่ เมื่อนำมาผสมกันจะทำปฎิกิริยากันเกิดการฟูตัวเป็นพียูโฟม คุณภาพของวัตถุดิบเหล่านี้แตกต่างกันไปตามผู้ผลิต โดยขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาและความบริสุทธิ์ของส่วนประกอบ วัตถุดิบคุณภาพสูงมักจะผลิตโฟมคุณภาพสูงพร้อมคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีขึ้น ในส่วนของไอโซไซยาเนตนั้นแต่ละยี่ห้อจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก ไม่ได้มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเปรียบเสมือนสารตั้งต้นชนิดหนึ่งที่จะมาทำปฎิกิริยากับโพลิออลให้เกิดแก๊สและเกิดการฟูตัวของพียู โอโซไซยาเนตชนิดที่นิยมใช้กันจะเป็นชนิด P-MDI ซึ่งในไทยยังไม่สามารถผลิตเคมีชนิดนี้ได้ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ
ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของพียูโฟม
ปัจจัยหลักที่จะมีผลด้านคุณภาพจะอยู่ที่สูตรโพลิออลของแต่ละผู้ผลิตซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามเทคโนโลยีที่แต่ละผู้ผลิตมี และความเข้ากันได้ของวัตถุดิบแต่ละชนิดที่อยู่ในสูตรของโพลิออล ซึ่งมาจากความเชี่ยวชาญของผู้ผลิตในการเลือกวัตถุดิบมาใช้ในสูตรโพลิออล เนื่องมาจากว่าในน้ำยาโพลิออลนั้นมีส่วนผสมมาจากวัตถุดิบมากกว่า 10 ชนิดที่นำมาใช้ในการ blend ให้ออกมาเป็นโพลิออล ต้องอาศัยทั้งความชำนาญและความแม่นยำในการกำหนดปริมาณของส่วนผสมแต่ละชนิดเพื่อให้สามารถทำปฎิกิริยากันได้ดี และที่สำคัญคือความสเถียรของพียูโฟมหลังจากเคมีทำปฏิกิริยากันแล้วจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพงานที่ออกมาว่าคุณภาพดีแค่ไหน
ตัวอย่างที่จะเห็นได้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ความเข้ากันได้ของโพลีออลพื้นฐาน (Based polyol) และสารเป่า (Blowing agent) มีผลอย่างมากต่อคุณภาพของโพลียูรีเทนโฟม Blowing agent ถูกใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อสร้างโครงสร้างโฟม เช่น ฟองหรือเซลล์ในพียูโฟม ซึ่ง Blowing agent ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด
Blowing agent ทำงานโดยการระเหยและขยายตัวเมื่อส่วนผสมพียู ได้รับความร้อนในระหว่างกระบวนการเกิดปฏิกิริยา การขยายตัวนี้ทำให้เกิดโครงสร้างโฟม Blowing agent ต้องเข้ากันได้กับ Based polyol เพื่อให้แน่ใจว่ามีการกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งส่วนผสมและเพื่อให้ได้โครงสร้างโฟมที่สม่ำเสมอและสม่ำเสมอ
หาก Based polyol และ Blowing agent เข้ากันได้ไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดปัญหาหลายประการ :
โครงสร้างโฟมไม่สม่ำเสมอ (Uneven Foam Structure) : Blowing agent ที่เข้ากันไม่ได้อาจไม่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในส่วนผสมของโพลิออล ซึ่งนำไปสู่โครงสร้างโฟมที่ไม่สม่ำเสมอ สิ่งนี้สามารถสร้างพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูงและต่ำในโฟม ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพของโฟม เช่น ความแข็งแรงและความสามารถในการเป็นฉนวน
โครงสร้างเซลล์ไม่ดี (Poor Cell Structure) : Blowing agent ต้องกลายเป็นไอและขยายตัวอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างโครงสร้างเซลล์ที่ดีในโฟม หากสารช่วยเป่าเข้ากันไม่ได้กับโพลิออล ก็อาจไม่สร้างโครงสร้างเซลล์ที่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณสมบัติของโฟม ตัวอย่างเช่น โครงสร้างเซลล์ที่ไม่ดีสามารถลดความสามารถในการเป็นฉนวนของโฟม และเพิ่มความสามารถในการซึมผ่านของอากาศและความชื้น
ความคงตัวหรือความสเถียรของโฟมลดลง (Reduced Foam Stability) : หาก Blowing agent และ Base polyol เข้ากันไม่ได้ อาจส่งผลต่อความคงตัวของโฟม ซึ่งอาจส่งผลให้โฟมหดตัวหรือเปลี่ยนรูปเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานลดลง นำมาซึ่งปัญหาโฟมยุบตัว หรือเป็นคลื่นหลังติดตั้ง เป็นต้น
น้ำยาพียู EASTERN เราเลือกใช้วัตถุดิบที่นำมาผลิตโพลิออลที่มีคุณภาพดี และทำสัญญากับผู้ผลิตในการจำหน่ายวัตถุดิบหลักบางชนิดกับ EASTERN เท่านั้น เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของเราทำให้คุณภาพงานออกมาดี สม่ำเสมอ และใช้ปริมาณน้ำยาพียูน้อยกว่า